“ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน”

ชอบเครื่องมือที่เป็น Mindmap สำเร็จรูปที่ให้มามาก คือพอทำแล้วจับมาเรียงกันเป็นประโยคได้เลย ประทับใจโค้ช (ที่เป็น UX Researcher) ดูไกลตัวมากๆ ทีแรกคิดว่าโค้ชเป็น NGO เหมือนกัน รู้สึกเลยว่า พอได้ทำการบ้านแล้ว เราอยากเรียนรู้กับเค้า อยากดูมุมมองคนที่ไม่ได้อยู่กับตรงนี้ว่ามองยังไง work มากๆ โค้ชมีวิธีการถามคำถามให้เรามองปัญหาต่างๆ ห้ามเราไม่ให้กระโดดไปที่ทางแก้ ถามคำถามมา เราก็เติมช้อมูลให้เค้า เค้าเติมวิธีคิดบางอย่างมาให้เรา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
คุณนันทชัย ภู่โพธิ์เกตุ
นักกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไร้สัญชาติ

“ได้วิธีการคิด ทำให้มองภาพกว้างชัดเจนขึ้น”


ได้วิธีการคิด วิธีวางแผน และทำให้มองภาพปัญหาในมุมที่กว้างขึ้น ชัดเจนขึ้น ตอนสมัครเรียนอ่าน guideline ด้วยความสงสัย อยากรู้ว่าจะสอนอะไร จะมีวิธีช่วยให้เราวางแผนแก้ปัญหาแต่ละอย่างอย่างไรบ้าง เผื่อจะดึงความรู้มาใช้ในงานตัวเองได้เลยลองสมัครดูค่ะ

พอเรียนจบแล้ว รู้สึกว่าเอามาใช้ได้จริง บอกตามตรงว่า ช่วงแรกไม่ค่อยเข้าใจวิธีการวางแผนแก้ไขปัญหาเท่าไหร่ พอได้ลองทำตาม ได้ลองวิเคราะห์สถานการณ์ จนถึงสัปดาห์ท้ายๆ มองย้อนกลับไป ทำให้เห็นภาพระบบการแก้ปัญหาชัดเจนขึ้น คือ ตั้งต้นจากสิ่งที่เราสนใจ ประเด็นปัญหาสถานการณ์ตอนนี้คืออะไร มีคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นแก้ปัญหานี้อยู่ไหม มีตรงไหนที่ยังแก้ไม่ได้หรือยังไม่ได้แก้ วิธีการคิด การวางรูปแบบในบทเรียนมันตอบโจทย์ ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนไข้ที่เราต้องเจอทุกวัน

เวลาทำงานด้านสาธารณสุข ต้องมีการตรวจคนไข้ การคุยสืบสาวถึงปัญหาที่เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วย เป็นสิ่งที่สำคัญมาก บางเรื่องไม่ใช่แค่สุขภาพกายป่วย ยังมีสุขภาพจิต สังคม ครอบครัว คนรอบข้าง เศรษฐกิจและอื่นๆอีกมากมาย เมื่อเราใช้กระบวนการคิดที่ได้เรียนและฝึกฝนมาทำให้ได้มุมมองอีกมุมในการสำรวจปัญหาคนไข้ เช่น การได้เข้าไปพูดคุย เข้าไปทำความเข้าใจกับตัวปัญหาจริงๆ พบว่าปัญหาบางอย่างเคยเป็นเรื่องที่เราหลุดประเด็นไป ปัญหาบางอย่างเราไม่เคยนึกถึงมาก่อน และพอได้คุยกับคนไข้หลายๆ คน ก็เหมือนการสัมภาษณ์ปัญหาที่หลากหลายมากขึ้น อย่างคอร์สที่ให้ทำนี้ พอได้คุยกับกรณีที่ตัวเองศึกษา ได้ลองลิสต์ประเด็นปัญหา หลากหลายมุมของสถานการณ์ทั้งหมด ทำให้มองเห็นช่องว่างและโอกาสในการแก้ปัญหาใหม่ๆมากขึ้น มีวิธีการคิดที่ทำให้มองภาพกว้างปัญหาและการวางแผนการแก้ไขได้ชัดเจน
คุณแหม่ม รัตติยา แสนสุภา
เจ้าของคลินิก

“ได้เห็นภาพรวมทุกอย่าง เห็นสิ่งที่เราสนใจ ข้อมูลที่เรามีความเข้าใจ เห็นช่องว่าง และโอกาสที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ “

เริ่มต้นจากความสนใจในปัญหาภาวะซึมเศร้า เเละได้มีโอกาสไปฟังเรื่องภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาที่อาจส่งผลต่อด้านต่างๆ เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่มี Insight Tanks ให้เราเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจะลองดูว่าเราสามารถหาข้อมูลเเละช่วยอะไรได้บ้าง สิ่งเเรกที่รู้สึกเลยคือ มีอะไรเเบบนี้ให้เราเรียนด้วยหรอ ดีจังเลยเเถมมีรางวัลให้ด้วย สมัครเรียนทันที 

จากสัปดาห์แรกที่เรียนจะยังสับสน พอได้รวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจปัญหา จนได้หัวข้อ “ ภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อการเรียน” เตรียมเนื้อหาที่จะไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีโค้ชคอยช่วยเเนะนำ การเรียนรู้ที่จะตั้งคำถามเเบบไม่ตัดสินคนที่เราจะไปสัมภาษณ์ จนถึงวันที่ไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจริง เริ่มต้นสัมภาษณ์ใจเต้นเเรงมากๆ รู้สึกตื่นเต้นแบบบอกไม่ถูก  เเต่อาจด้วยความที่เราได้เตรียมคำถาม เเละขอบเขตในการสัมภาษณ์ไว้เเล้ว เลยทำให้การสัมภาษณ์ผ่านไปด้วยดี พอหลังสัมภาษณ์แล้วกลับมาทำ synthesis เหมือนได้ปลดล็อคความสงสัย ได้เห็นภาพรวมทุกอย่าง เห็นสิ่งที่เราสนใจ ข้อมูลที่เรามีความเข้าใจ เห็นช่องว่าง และโอกาสที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ 

เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาก ในการช่วยให้เราเข้าใจ เข้าถึงปัญหา ทำให้เราได้ฝึกมองปัญหากว้างขึ้น จนช่วยเพิ่มโอกาสที่จะหาแนวทางแก้ไข และจะได้นำประสบการณ์ที่มีค่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนรู้สิ่งอื่นๆ หรือการทำความเข้าใจปัญหาอื่นในส่วนของการทำงาน การให้คำแนะนำคนใกล้ชิดได้มากยิ่งขึ้น

ความประทับใจ
ประทับใจทีมงานทุกท่านมากค่ะ การเตรียมเนื้อหาเพื่อให้เราได้เรียน มีวิดิโอแนะนำในแต่ละสัปดาห์ เหมือนได้รับพลังขับเคลื่อน ที่กำลังบอกเราว่าอีกนิดนะ จะได้เจอภาพรวมของสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ มีพื้นที่ได้พูดคุยเเลกเปลี่ยน จนไปถึงสัปดาห์ที่มีโค้ชประจำกลุ่ม ได้รับคำแนะนำและกำลังใจจากโค้ช ทำให้มั่นใจมากขึ้นในการสัมภาษณ์  ชอบการที่ได้ทำการบ้านเเต่ละสัปดาห์ การกำหนดเวลาส่ง ทำให้เราอยากจะทำส่งทันเวลา เป็นการเรียนที่สนุกเเละท้าทายมากๆค่ะ
คุณขจีวรรณ ทรัพย์สำราญ
น.ศ. ปริญญาโท/ผู้ช่วยนักวิจัย

“ได้เอาไปใช้ในการทำงานของตัวเอง”

ทำวิจัยพัฒนาชุมชน ซึ่งตอบโจทย์การทำงานมากเพราะในงานวิจัยนั้น การทำ Research กับการ empathy ชุมชน มักถูกทำแยกกัน Insight Tanks เป็นเหมือนเป็นการนำฝั่ง Research และการ empathy ชุมชนมารวมเข้าด้วยกัน  ใบงานต่างๆ ทำแล้วแบบ เออจิงว่ะ เราเอามาแยกส่วนกัน ไม่เคย brainstorm ร่วมกัน อันนี้ทำให้เราเติมเต็มมากขึ้น เพราะ Reseach อย่างเดียวก็จะแข็ง เมื่อมองภาพรวมกันทำให้อ่อนลง เป็นวิธีการหนึ่งในการทำความเข้าใจ หาปัญหา ให้ได้ problem statement ก่อนจะไปถึง project management
คุณเรวัติ​ อยู่​สุข​
นักพัฒนา​การศึกษา​ KMUTT​